ประกาศให้อุบล เป็นพื้นที่อุทยานธรณีแห่งที่3ของประเทศ เชื่อหรือไม่ว่า.... อุบลได้ยกระดับเป็นอุทยานธรณีท้องถิ่น ระดับจังหวัด แห่งแรกของประเทศ


2019-08-26 04:36

จำนวนครั้งที่อ่าน : 1,292

อาจมีคนสงสัยว่า อะไร คือ อุทธยานธรณี อุทยานธรณี (อังกฤษ: geopark) คือ พื้นที่ต่อเนื่องที่ได้รับการคุ้มครองขั้นสูงและกำหนดให้เป็นมรดกทางธรณีวิทยาภายใต้แนวทางของความยั่งยืนและส่งเสริมความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

อาจมีคนสงสัยว่า อะไร คือ อุทธยานธรณี

อุทยานธรณี (อังกฤษ: geopark) คือ พื้นที่ต่อเนื่องที่ได้รับการคุ้มครองขั้นสูงและกำหนดให้เป็นมรดกทางธรณีวิทยาภายใต้แนวทางของความยั่งยืนและส่งเสริมความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ แย่งเป็นระดับ ได้ 4 ระดับ อุทยานธรณีโลก (global geopark)อุทยานธรณีแห่งชาติ (national geopark) ระดับจังหวัด และ ระดับท้องถิ่น (จังหวัด)

UNESCO ได้ให้ความหมายของ "อุทยานธรณี" (Geopark) คือ พื้นที่ที่ประกอบไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญอย่างโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยา (geology) รวมถึงคุณค่าทางด้านโบราณคดี (archaeology) นิเวศวิทยา (ecology) และวัฒนธรรม (culture) ที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

  1. อุทยานธรณีระดับท้องถิ่น (Local Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น
  2. อุทยานธรณีระดับจังหวัด (Provincial Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับจังหวัด และมีแผนการบริหารจัดการอุทยานธรณี
  3. อุทยานธรณีระดับประเทศ (National Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับประเทศ และมีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการแล้ว
  4. อุทยานธรณีระดับโลก (Global Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่

กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญและผลักดันการจัดตั้งอุทยานธรณีในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และ มาทำการสำรวจพื้นที่แถบผาชัน สามพันโบก เป็นแหล่งแรกๆ

และในปี 2556 สมัยผู้ว่า สุรพล สายพันธ์ อุบลก็ ได้ประกาศ เป็นอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น แห่งแรกของประเทศไทย และ พยายยามจะผลักดันให้ เป็นอุทยานธรณี ระดับประเทศ จนมาสำเร็จ ในปีนี้ (2562)

ผลของแนวทางที่ อุบลทำ ทำให้.... จังหวัดสตูลมาดูงานจำลองแบบ จากอุบลไป ต่อยอด ..... ด้วยความพร้อมในเรื่องพื้นสตูลจึงได้ เป็นจังหวัดแรก ที่ถูกประกาศ เป็นอุทยานธรณีระดับประเทศ ตามมาด้วย โคราช เป็นอันดับที่ 2อุบลจึงมาเป็นอันดับที่ สาม แต่ หากให้เครดิต ในเรื่อง อุทยานธารณ๊ แล้ว อุบลคือ จังหวัดแรกที่ลงมือทำเรื่องนี้ ( อุทยานธรณี)

เป้าหมายของอุบล คือ เป็นอุทยานธรณีระดับโลก ในประเทศไทย ทีสตูล คือ แห่งของไทยที่ถูกประกาศ เป็น ระดับโลก ( เดิมเป็นความตั้งใจ จะผลักดันให้ อุบล เป็นแห่งแรก แต่ติดขัดทางเทคนิค ( พื้นที่ ในรายละเอียด) แต่ ก็พยายมต่อไป ระดับประเทศสำเร็จแล้ว

อุทยานธรณี จะเกิดประโยชน์ อย่างไร

จากนิยาม อุทยานธรณี”(Geopark) หมายถึงพื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งธรณีวิทยา แหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ที่มีคุณค่าต่อประเทศ/โลก รวมถึงแหล่งทางด้านโบราณคดี(Archeology) นิเวศวิทยา(Ecology) และศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่มีคุณค่าของโลก (Culture) บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น โดยประชาชน เพื่อประชาชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังการเป็นอุทยานธรณี จะเป็นการให้ความสำคัญ และ ความยั่งยืน ทั้ง คน และธรรมชาติ ที่จะอยู่ร่วมกันไม่ทำลาย ตลอดไป

มีอะไรดี ในอุทยานธรณี อุบล ผาชันสามพันโบก

นพื้นที่ผาชัน สามพันโบก อันมหัศจรรย์ มีธรรมชาติแปลกตา แม่น้ำสองสี และไดโนเสาร์ยุคสุดท้าย อุบลราชธานีมีของดี ไม่เหมือนใคร เป็นที่ตั้งแหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญๆ เกือบ 27 แหล่ง อาทิ สามพันโบก สามหมื่นรู้ เสาเฉลียงยักษ์ ถ้ำหินทราย ผาแต้ม แล้วยังมีแหล่งโบราณคดีอีก 8 แหล่ง

ทศพร นุชอนงค์ รองอธิบดี ทธ. อธิบายว่า

ผาชัน-สามพันโบกริมแม่น้ำโขง จ.อุบลฯ หากล่องเรือจะมี ระยะทางยาว 20 กิโลเมตร เป็นอาณาบริเวณที่มีสภาพด้านธรณีสัณฐานที่สวยที่สุดในประเทศไทย ย้อนไปร้อยล้านปีก่อนไม่มีแม่น้ำโขงไหลผ่านบริเวณนี้ แต่จากการที่น้ำโขงไหลตัดผ่านหินทรายและแสดงลักษณะการถูกกัดกร่อนเป็นรูปทรงและสภาพธรรมธรรมชาติในเนื้อหิน ที่มีสภาพภูมิประเทศแปลกตาอย่างที่ได้เห็น

"พบได้ที่เดียวในแม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านไทย ถ้าไปล่องน้ำโขงที่อื่นๆ ไม่พบ ไม่ว่าจะล่องแก่งคุดคู้ เชียงคาน ปากชม หนองคาย ไม่มีหินแบบนี้ แม้ผ่านโขดหิน ผ่านแก่ง แต่เป็นหินคนละประเภท พื้นที่ตรงนี้จุดเด่นเป็นหินเก่าแก่ กัดกร่อนเป็นหลุม รู อาณาบริเวณนี้คุณค่าด้านวัฒนธรรมก็โดดเด่น มีวิถีชีวิตประชาชนลุ่มน้ำโขง แถมเส้นทางยังเชื่อมโยงลาว กัมพูชา ถ้าถามล่องน้ำโขงที่ใดได้เห็นสภาพภูมิประเทศสวยที่สุดต้องอุบลราชธานี"

ทศพรถึงกับการันตีว่าที่นี่สวยที่สุดในไทย (บันทึกเมื่อ 2556 )

ผาชัน สามพันโบก อันสวยงามตั้งอยู่เรียบลำน้ำโขงพื้นที่ครอบคลุม 3 อำเภอ คือ โขงเจียม โพธิ์ไทร และศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

เป็นแหล่งธรณีวิทยาสำคัญของประเทศ มีทั้งชั้นหินเก่าแก่และซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งก่อกำเนิดมานานหลายร้อยล้านปี นับเป็นประติมากรรมธรรมชาติมหัศจรรย์ไม่มีใครเหมือน

ในยุคหนึ่ง สามพันโบกเคยเป็นหินทรายจัดอยู่ในหมวดหินภูพาน อายุประมาณ 100 ล้านปี แต่แม่น้ำโขงพัดพาเอากรวดหินดินทรายมาหมุนวนไปเรื่อยๆ กัดกร่อนจนเกิดเป็นแอ่งโค้งเว้า ซึ่งมีทั้งแอ่งขนาดเล็กๆ ไม่กี่เซนติเมตรจนถึงขนาดใหญ่เท่าสระว่ายน้ำจำนวนมาก ชื่อของแอ่ง หลุม บ่อน้ำเหล่านี้ เรียกว่า 'กุมภลักษณ์' หรือ "โบก" กลายเป็นที่มาของชื่อ 'สามพันโบก' ที่นี่ได้รับคัดเลือกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดดเด่นในโครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ผาชัน ล่องเรือ แถบ สามพันโบก ผาชัน สวยที่สุดในสยาม ( แนวลำน้ำโขง) ตลอดจน ผาแต้ม เสาเฉลียงยักษ์ ถ้ำหินทราย ฯลฯ

ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ ที่นำมาประกอบเนื้อหาประชาสัมพันธ์ อุทยานธรณีอุบลราชธานี


หอการค้า จังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งเมื่อ 2529 ทำหน้าที่ เป็นองค์กรภาคเอกชน ที่ให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจ แก่ภาครัฐ ในรูปแบบ กรอ.จังหวัด และมีหน้าที่ สื่อสาร ส่งข่าว ให้สมาชิก ทราบความเคลื่อนไหว ภาวะข้อมูล เศรษฐกิจ ของ จังหวัดอุบลราชธานี บริหารงาน ด้วย นโยบายการพัฒนา สมัยใหม่ หากต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงาน หอการค้า โทร. 045-243603