ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานี (กรอ.จังหวัด) ครั้งที่ 1/2563


2019-11-25 11:39

จำนวนครั้งที่อ่าน : 111

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13:30 น. ณ ห้องประชุมปทุมวรราช ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี นายนิมิต สิทธิไตรย์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยนางรัตนากร ฑีฆธนานนท์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี, นางชูศรี กตัญญุตานันท์ รองประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี และนายชลวิท อภิรัตน์มนตรี รองประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานี (กรอ.จังหวัด) ครั้งที่1/2563

ในการประชุมครั้งนี้ได้มีหัวข้อที่น่าสนใจในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลายด้านและด้านการแก้ปัญหาสถานการณ์การค้าชายแดนรวมไปถึงการต้อนรับคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.สัญจร) และการเร่งรัดโครงการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและแก้ไขปัญหาโรคละบาดที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการค้าให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและเพื่อเป็นการจัดเตรียมข้อเสนอและโครงการ/แผนงานสำหรับเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ

สืบเนื่องจากการประชุมการแต่งตั้งคณะทำงานสรรหาหน่วยงานเพื่อเข้าบริหารจัดการโครงงานพัฒนาพื้นที่ชุมชนชายแดนช่องเม็ก บริเวณศูนย์สาธิตการตลาด อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีข้อเสนอแนะจากหน่วยงานหอการค้าจังหวัอุบลราชธานี โดย นายชลวิท อภิรัตน์มนตรี รองประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีข้อเสนอให้เชิญกลุ่มเป้าหมายและนักลงทุนโดยมีการเสนอหลายช่องทางของนักลงทุนเพื่อดึงดูดให้เข้ามาประกอบกิจการในพื้นที่โครงการ นายนิมิต สิทธิไตรย์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ได้เสนอกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนโดยการเชิญนักลงทุนมาดูพื้นที่อาคารเพื่อให้เกิดทิศทางและการนำเสนอแผนธุรกิจเพื่อแสดงให้เห็นภาพในด้านการประกอบกิจการมากยิ่งขึ้น และได้เสนอแนวคิดในด้านการประมูลเพื่อหาคนและประเภทธุรกิจที่เหมาะสมมากกว่าตัวเลขของการประมูล

สำหรับรายงานภาวะเศรษฐกิจภาพรวม และสภาวะเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานี

ตุลาคม 2562 หดตัว 5.86% กำหนดจากเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ เครื่องยนต์ที่ 1. การบริโภค 1.76 % เครื่องยนต์ที่ 2. การลงทุน 5.16 % เครื่องยนต์ที่ 3. การใช้จ่ายภาครัฐ 17.18 % เครื่องยนต์ที่ 4. การค้าชายแดน 1.92 % ==

ประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานีในเดือนตุลาคม 2562 ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานีเดือนตุลาคม คาดว่าจะขยายตัว 1.82 % เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากด้านอุปสงค์ คาดว่าจะขยายตัว 6.19 จากการบริโภคเอกชน ซึ่งคาดว่าจะขยายตัว 6.19 % จากการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มการบริโภคมากขึ้น

สำหรับแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาสจากการเผาในพื้นที่ภาคการเกษตรที่เพราะปลูกพืชเชิงเดี่ยวและพืชที่มีการเผา คณะรัฐมนตรีได่มีมติเห็นชอบในแผนปฎิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง" ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกอบแนวทางปฎิบัติในการร่วมกันแก้ปัญหา และในที่ประชุมได้กล่าวถึงการสร้างสถานีกรองฝุ่น PM 2.5 เพื่อเป็นการลดมลภาวะ ในพื้นที่ดงอู่ผึ่ง

รายงานผลการติดตามสถานการณ์และมาตรการเฝ้าระวังป้องกันกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พบการระบาดของโรคใบด่างของมันสำประหลังที่่นำท่อนพันธ์มาจากจังหวัดนครราชสีมา จากข้อมูลการซุ่มตรวจพบการระบาด รวม 834 ไร่ได้แก่ พื้นที่อำเภอน้ำขุ่น จำนวน 231 ไร่ อำเภอน้ำยืน จำนวน 568 ไร่ อำเภอศรีอุดม จำนวน 7 ไร่ และอำเภอนาจะหลวย จำนวน 28 ไร่

สถานการณ์การค้าชายแดนบริเวณท่าทรายบ้านนาหินโหง่น ด่านถาวร บ้านปากแซง ตำบลพระลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี จากสถิติ 3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับมูลค่าของการนำเข้าและส่งออก ในปี 2561 คิดเป็นมูลค่า 750 ล้านบาท และในปี 2562 มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออก คิดเป็นมูลค่า 742 ล้าน สำหรับสถิติการนำเข้าและส่งออกลดลง มี 3 ประเด็นปัญหา

1.ปัญหาการคมนาคมขนส่งสินค้าในพื้นที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากแซง

อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี มีสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมกับการขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์เนื่องจากมีตลิ่งสูง และแม่น้ำโขงมีสันทรายที่ตื้นเขิน โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง ไม่สามารถใช้เรือขนาดใหญ่ขนส่งสินค้าจำนวนมากได้

2.ปัญหาและอุปสรรคการค้าและการลงทุน การจำกัดการนำเข้าสินค้าผ่านด่านท้องถิ่นและด่านประเพณี ของ สปป.ลาว

และการจำกัดประเภทสินค้า โดยอนุญาตได้แก่ สินค้าเครื่องใช้อุปโภคบริโภค และสินค้าทางการเกษตร ได้แก่รถไถเดินตาม เครื่องสูบน้ำ เครื่องนวดข้าวโรงสี พันธุ์พืช ปุ๋ยเคมี สารจำกัดศัตรูพืช อาหารสัตว์

3.ปัญหาการนำเข้าสินค้ามันสำปะหลังโดยเฉพาะมันเส้น กระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองและปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ได้กำหนดให้ต้องนำเข้ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทางจังหวัดและด่านศุลกากรกับจุดที่กำหนดเท่านั้น เพื่อป้องกันโรคใบด่างมันสำปะหลังเข้ามาระบาดและทำความเสียหายให้แก่ผลผลิตมันสำปะหลังในประเทศไทย

โครงการ "Smart โชวห่วย"พัฒนาร้านโชห่วยธรรมดาให้เป็นร้านค้าที่ทันสมัยและตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคใหม่ เพื่อเพิ่มยอดขาย และปรับเปลี่ยนร้านให้เกิดความทันสมัยและนำระบบ IT มาพัฒนาการเก็บข้อมูลให้มีความสะดวกสบายในการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าและการจัดเลียงสินค้าให้มีระเบียบง่ายต่อการเลือกซื้อของลูกค้า ปัจจุบันมีเป้าหมาย 30,000 แห่งทั่วประเทศ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมี จำนวน 1,000 แห่ง

นายชลวิท อภิรัตน์มนตรี รองประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ได้ให้คำแนะนำในการพัฒนาโครงการนี้ว่าด้วยกลยุทธ์การ Focus Group อยากให้มีการจัดทำ 1 ร้านค้า 1 ตำบล เพื่อจัดทำให้เป็นต้นแบบของร้านค้า

“Smart โชห่วย” และมีการจัดอบรมสัมมนาและอบรมเพื่อให้ความรู้เพื่อเป็นการยกระดับร้าน “โชห่วย”

นายนิมิต สิทธิไตรย์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการกล่าวให้กำลังใจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโครงการนี้ โดยอภิปรายให้เห็นถึงร้าน “โชห่วย” ที่มีในระดับหมู่บ้านและตำบล โดยแนะนำให้ทำ Model แบบร้าน โลตัส ให้เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งตัวอย่างเพื่อเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีและเอกชนท้องถิ่น


หอการค้า จังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งเมื่อ 2529 ทำหน้าที่ เป็นองค์กรภาคเอกชน ที่ให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจ แก่ภาครัฐ ในรูปแบบ กรอ.จังหวัด และมีหน้าที่ สื่อสาร ส่งข่าว ให้สมาชิก ทราบความเคลื่อนไหว ภาวะข้อมูล เศรษฐกิจ ของ จังหวัดอุบลราชธานี บริหารงาน ด้วย นโยบายการพัฒนา สมัยใหม่ หากต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงาน หอการค้า โทร. 045-243603